RFID กับการเคลื่อนย้ายสินค้า

RFID นั้นถือว่าเป็นเทคโนโลยี สำหรับระบบโลจิสติกส์ที่กำลังมาแรงเป็นอย่างมากในประเทศไทย ซึ่งสามารถใช้วิเคราะห์ปัญหาต่างๆของสินค้าในการ Tag ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลตอบสนองในการกระจายสินค้าซึ่งจะมีเนื้อหาเกี่ยว RFID ในงานโลจิสติกส์ดังต่อไปนี้

rfid1.jpg

เป็นรูปไดอะแกรมการทำงานโครงข่ายในการบริหารจัดการของการนับจำนวนในงาน Logistic เช่น นับจำนวนรถ นับจำนวนคน นับจำนวนสินค้า และอีกทั้งยังสามารถมี Feature เพิ่มเติม  โดยการเขียนโปรแกรมและมี Soft ware รองรับในการจัดลำดับเหตุการณ์ต่างๆในการดูข้อมูลภายในองค์กรนั้นด้วยความสะดวก รวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย

rfid2

จากรูปแสดงถึงลักษณะอุปกรณ์ RFID ที่มีหัวอ่านพร้อมกับมีอุปกรณ์ไม้กั้นซึ่งแสดงผลดังนี้
.หัวอ่าน RFID จะทำการบันทึกกับ Tag ที่ติดอยู่หน้ารถแล้วจะทำการอ่านข้อมูลแสดงผลที่หน้าจอ Monitor ว่ารถออกจากต้นทางเท่าไหร่และถึงปลายทางเวลาเท่าไหร่
2.RFID  จะบันทึกข้อมูลบัตรประจำตัวผู้ที่ขับขี่รถว่า ชื่อ-นามสกุล อะไรดูแลรถคันใดในกะๆนั้น
3.RFID จะทำการอ่านข้อมูล Tag โลหะว่ารถคันนี้ทำภารกิจอะไรมาบ้างและ Capture ป้ายทะเบียนรถประจำวันแบบ Real time

rfid3

รูปแสดงถึงลักษณะของ Soft ware ทั้งหมดที่มีการเก็บรูปภาพของรถขนส่งสินค้าทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการอ่านทะเบียน หรือ การนับรถ โดยมี RFID Reader ใช้อ่านโดยรอบมากกว่า 8 หัวอ่านเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเกิดขึ้น และยิ่งกว่านั้นระบบสามารถส่งข้อมูล DATA ทั้งหมดขึ้นไปสู่ห้อง Control ของหัวหน้าด้วย

rfid4

rfid5rfid6

โอกาสที่จะเกิดขึ้นกับ RFID ในการช่วยบริหารจัดการต่อความเสี่ยง คือ

  • ลดการโจรกรรมและสูญหายของสินค้าลง
  • ลดต้นทุนด้านแรงงานในศูนย์กระจายสินค้าต่างๆ
  • ความสามารถในการต่อต้านการลักขโมยที่ดีขึ้น
  • ความแม่นยำในการสั่งซื้อและอัตราเติมสินค้าดีขึ้น
  • ลดการจัดส่งสินค้าแบบฉุกเฉินและการขนส่งทางอากาศและการขนส่งแบบพิเศษต่างๆที่มีค่าใช้จ่ายสูง
  • ลดระดับของสินค้าคงคลังและคงคลังสำรองที่จำเป็นต่อการรักษาอัตราการเติมให้อยู่ในระดับสูงและขจัดปัญหาของสินค้าขาดสต็อก

กิจกรรมที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ และกระจายสินค้า เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเชิงเวลา และประหยัดต้นทุน โดยปัจจัยสำคัญจะต้องนำระบบโลจิสติกส์ที่เป็นกายภาพไปสู่ระบบที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า e-Logistics มาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง (Warehouse and Inventory Management)โดยเทคโนโลยีที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในระยะนี้ น่าจะได้แก่ การนำระบบ RFID มาใช้ในการควบคุมสินค้าคงคลัง การขนส่งทางไกล รวมไปถึงการกระจายสินค้า เช่น ระบบการกระจายสินค้าในร้านค้าปลีกประเภทเมกะสโตร์ ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ เนื่องจาก RFID ซึ่งเป็นนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า การแทรคกิ้ง (Tracking) การจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งเชื่อมโยงกับซอฟท์แวร์ก็สามารถเติมเต็มจำนวนของสินค้าที่เรียกว่า e-Fulfillment หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า Lean และระบบการส่งมอบแบบ Kanban ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่มีสินค้าคงคลังต่ำRFID เป็นระบบอัจฉริยะภายใต้ Nano Technology ที่กำลังจะมีบทบาทเข้ามาแทนที่ระบบบาร์โค้ด โดยระบบนี้จะใช้ระบบคลื่นของความถี่วิทยุ มาช่วยในการอ่านรหัสและข้อมูลของสินค้าหรือข้อมูลของฉลากได้โดยไม่ต้องมีการสัมผัส ในขณะที่สินค้ายังเคลื่อนไหวพร้อมกันได้คราวละหลายชิ้น (Tag) โดย RFID จะสามารถอ่านข้อมูลได้รวดเร็ว ด้วยความเร็วสูง และยังสามารถอ่านค่าของสินค้านั้นได้แม้จะอยู่ในระยะไกล โดยส่วนประกอบใน RFID จะมีส่วนประกอบหลักๆ สำคัญ คือ Tag หรือฉลาก ซึ่งจะติดอยู่กับตัวสินค้า โดยฉลากหรือ Tag จะมี Transceiver ซึ่งจะเป็นเครื่องอ่าน (Reader) โดยหน้าที่หลักของเครื่องอ่านจะสามารถเชื่อมต่อด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งมีทั้งการรับ-ส่งสัญญาณวิทยุและส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ในการถอดรหัสสินค้าDecoding

ทั้งนี้  RFID จะส่งเสริมต่อประสิทธิภาพของ VMI หรือ Vendor Managed Inventory คือ การจัดการควบคุมปริมาณการรับสินค้าจากคู่ค้าให้สอดคล้องกับการผลิตและการส่งมอบ ทำให้ช่วยลดต้นทุนและทำให้การส่งมอบเป็นแบบ Real Time โดยระบบนี้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การสั่งซื้ออัตโนมัติ ทำให้ลดเวลาและภาระในการจัดซื้อหรือ Reorder ในการลดสินค้าคงคลัง

นับว่า RFID จะเป็นนวัตกรรมใหม่ของอนาคตในการแก้ปัญหาและหรือหาคำตอบ (Solution) ในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน ทำให้ระบบโซ่อุปทานโลจิสติกส์กลายเป็นเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็น “e-supply chain” อย่างแท้จริง จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยี RFID จะมีความจำเป็นต่อการบริหารการจัดการซัพพลายเชนของภาคอุตสาหกรรมการผลิต (IndustriesSector)ในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

RFID- เทคโนโลยีที่มากกว่าการติดตามยานพาหนะ

การแก้ปัญหาประสิทธิภาพ และต้นทุนของกิจกรรมการขนส่งสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งกลยุทธที่ได้รับความนิยม คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้าใหเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง และมีต้นทุนที่ประหยัดที่สุดซึ่งในปัจจุบันนอกจาก GPS หรือ GPRS แล้ว RFID ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้งานลักษณะนี้เป็นอย่างมาก เพราะ RFID Tag ระบุถึงรายละเอียดขอสินค้าแต่ละชิ้นได้อย่างเฉพาะเจาะจง พร้อมด้วยคุณสมบัติที่อ่านได้หลายทิศทาง เก็บข้อมูลได้จากหลาย Tag ในการอ่านครั้งเดียวก็สามารถนับจำนวนและติดตามสินค้าไปอย่างรวดเร็ว

ทำไมต้องใช้ RFID แทนระบบ GPS หรือ GPRS ??

เนื่องจาก GPS หรือ GPRS สามารถทำงานได้ดีในระดับหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดในความแม่นยำในระยะขอบเขตการอ่าน มีค่าใช้จ่ายต่อเนื่อง และที่สำคัญ คือ ระบบเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้เมื่อยานพาหนะไม่อยู่ในพื้นที่โล่งแจ้ง อีกทั้งยังไม่สามารถติดตามสถานะสินค้าระดับหน่วยย่อยได้ กล่าว คือระบบ GPS หรือ GPRS จะทำงานได้ดีและให้เห็นสถานะระดับยานพาหนะในระหว่างการขนส่งเท่านั้น แต่พอเมื่อยานพาหนะเข้าพื้นที่ทำงานแล้ว ส่วนใหญ่ผู้ที่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถรู้ไ้ด้เลยว่าสถานะการทำงาน ณ เวลานั้นของยานพาหนะและตัวสินค้าเองเป็นอย่างไร ซึ่ง ณ จุดนี้เองที่ระบบ RFID เพื่อการบริหารและติดตามกิจกรรมขนส่งภายในพื้นที่การทำงาน รับ-ส่งสินค้ามีความสำคัญ

การใช้ RFID Reader กับ RFID Tag ในการกระจาย ขนส่ง สินค้า

อันดับแรกสินค้าที่ถูกบรรจุในลังจะทำการติด RFID Tag และเมื่อรวบรวมสินค้าเสร็จก่อนนำสินค้าขึ้นรถบรรทุกก็จะสามารถเข็นลังที่มีสินค้าผ่านเครื่องอ่าน RFID ก็จะรู้ข้อมูลสินค้าทั้งหมดจากนั้นจึงขนเข้าไปในรถบรรทุกเพื่อรอการขนส่งออกจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังสาขาย่อย ซึ่งรถบรรทุกก็จะมี RFID Tag กำกับรายคันเช่นกันเมื่อขับถึงประตูเข้าออกก็จะมีเครื่องอ่าน RFID นับจำนวนรถบรรทุกด้วยเช่นกันซึ่งในขณะที่สาขาย่อยที่รอรับสินค้า ก็จะมีเครื่องอ่าน RFIDของรถบรรทุกที่ทางเข้า-ออก และมีเครื่องอ่าน RFID ที่ตัวสินค้าที่อยู่ในลังเพื่อยืนยันการรับคำสั่งของสินค้าไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น

RFID Vehicle Queue Management (VQM)
ระบบบริหารจัดการคิวรถบรรทุกขนส่งในพื้นที่โรงงาน
เทคโนโลยี RFID ปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม โดยหนึ่งในการประยุกต์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในระบบขนส่ง คือการใช้ RFID ในการจัดคิวรถบรรทุกขนส่งในพื้นที่โรงงานอย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว สร้างความเป็นระเบียบในการจัดคิวรถบรรทุกขนส่ง นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและนำข้อมูลมาวิเคราะห์วางแผน เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย เนื่องจากภายในระบบมีกิจกรรมที่บันทึกข้อมูลต่างๆไว้

จุดเด่นของระบบ VQM
– ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดคิวรถบรรทุกขนส่ง ที่สามารถทำงานตามเงื่อนไขได้โดยอัตโนมัติ ระบุประเภทรถที่อนุญาตให้เข้าทำงานในแต่ละพื้นที่ กำหนดรอบเวลาทำงานมาตรฐาน กำหนดลักษณะงานของรถบรรทุกขนส่งแต่ละประเภท
-อุปกรณ์ RFID มีให้เลือกใช้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพงาน และระยะทางการทำงานที่ต้องการ สามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณ์รูปแบบต่างกันได้โดยไม่ต้องเสียเวลาพัฒนาระบบการเชื่อมต่อข้อมูลใหม่
– ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนค่าเงื่อนไขการทำงานกับรถบรรทุกขนส่งแต่ละประเภทได้เอง เพื่อรองรับเงื่อนไขที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต
– ทำงานร่วมกับระบบงานอื่น ๆ เช่น ระบบรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ระบบขนส่งสินค้าระหว่างหน่วยงาน ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน รองรับความครอบคลุมได้ทุกๆประเภทกลุ่มงานในเครือข่ายเดียวกัน

ประโยชน์ของ VQM
1.ลดระยะเวลาการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มจำนวนรอบรถบรรทุกขนส่งที่เข้าโรงงานในแต่ละวัน เป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้า และบริการให้มีมากขึ้น
2.ลดการสิ้นเปลืองต้นทุนจากการใช้เอกสารจำนวนมาก และลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ง่ายจากการทำงานด้วยคน
3. การนัดหมายรถกับลูกค้าหรือบริษัทคู่ค้า มีความแม่นยำ ตรงต่อเวลา เป็นการสร้างความพึงพอใจในการรับบริการ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่จะนำไปสู่การสร้างรายได้ในอนาคต
4. ผู้ใช้งานทุกระดับสามารถติดตามการทำงานทั้งกระบวนการได้โดยละเอียด สามารถนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาใช้ตัดสินใจ และวางแผนทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนทรัพยากรให้สิ้นเปลือง

กลุ่มบริษัทที่เหมาะสมกับระบบ VQM
– บริษัทที่มีรถบรรทุกขนส่งเข้ามารับ-ส่งสินค้าจำนวนมาก
– บริษัทขนส่งสินค้าที่มีการตรวจสอบจำนวนโดยการชั่งน้ำหนัก

ตัวอย่างงาน Tracking RFID ที่ใช้ในหน่วยงาน Venus Gas

โดยเทคโนโลยีที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดในระยะนี้ น่าจะได้แก่ การนำระบบ RFID มาใช้ในการควบคุมสินค้าคงคลัง การขนส่งทางไกล รวมไปถึงการกระจายสินค้า เช่น ระบบการกระจายสินค้าในร้านค้าปลีกประเภทเมกะสโตร์ ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ เนื่องจาก RFID ซึ่งเป็นนวัตกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า การแทรคกิ้ง (Tracking) การจัดเก็บและเบิกจ่ายสินค้าแบบอัตโนมัติ ซึ่งเชื่อมโยงกับซอฟท์แวร์ก็สามารถเติมเต็มจำนวนของสินค้าที่เรียกว่า e-Fulfillment หรือนำไปใช้ในกระบวนการผลิต ที่เรียกว่า Lean และระบบการส่งมอบแบบ Kanban ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่มีสินค้าคงคลังต่ำ

ผลกระทบต่อสินค้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างขนส่ง
    1.  คุณภาพของสินค้า ผลกระทบที่เกิดจากการขาดการควบคุมอุณหภูมิที่ถูกต้องและเหมาะสม ได้แก่ เนื้อสัมผัสของสินค้าเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิในการเก็บรักษาสินค้าในระหว่างขนส่งไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากมีความร้อนเข้าไปในเครื่องแช่เยือกแข็ง เช่น การเปิด-ปิดตู้ ซึ่งจะทำให้มีลมร้อนเข้าไปในตู้ อุณหภูมิภายในตู้สูงขึ้นส่งผลให้ผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กในโมเลกุลอาหารละลาย และผลึกน้ำแข็งขนาดใหญ่ในโมเลกุลของอาหารจะเริ่มเล็กลง ผลึกน้ำแข็งที่ละลายอยู่นี้จะทำให้ความดันไอน้ำเพิ่มขึ้น ความชื้นจึงเคลื่อนที่ไปยังบริเวณที่มีความดันต่ำกว่า เป็นผลให้ผิวของหารนั้นแห้งเพราะเกิดการสูญเสียน้ำ เมื่ออุณหภูมิในอาหารลดลงอีกครั้งไอน้ำจะไม่สร้างนิวเคลียสใหม่ แต่จะรวมตัวกับผลึกที่มีอยู่แล้ว มีผลทำให้ผลึกน้ำแข็งมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อของอาหารถูกทำลายเมื่อมีการนำอาหารมาละลายอีกครั้ง ส่งผลต่อคุณภาพของอาหารหรือเรียกว่าเกิดการไหม้เนื่องจากความเย็น (Freeze Burn) ซึ่งเนื้อสัมผัสของอาหารจะแห้งกว่าปกติ
2. ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ (Appearance) จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเช่นลักษณะเนื้อสัมผัส, สี และคุณภาพ เป็นสาเหตุทำให้ผลิตภัณฑ์ตก Spec และไม่เป็นที่ยอมรับของลูกค้า เช่นในผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Value added (ผลิตภัณฑ์ที่มีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น กุ้งชุบเกล็ดขนมปัง ปลาชุบเกล็ดขนมปัง)  อุณหภูมิและระยะเวลาที่ใช้ในการขนส่งจะส่งผลต่อคุณภาพของสินค้าได้ เช่น ผลิตภัณฑ์กุ้งชุบขนมปังหากมีความไม่สม่ำเสมอของอุณหภูมิในการขนส่ง รวมถึงระยะเวลาในการ load สินค้าขึ้นตู้ใช้เวลานานเกินไปจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพ และรสชาติของผลิตภัณฑ์เมื่อลูกค้านำไป Cooking  แล้วจะพบว่าสีของกุ้งชุบขนมปังหลังทอดจะมีสีคล้ำกว่าสินค้าที่มีการเก็บในสภาวะอุณหภูมิสม่ำเสมอและถูกต้อง ซึ่งจะเป็นปัญหาในระหว่างการขนส่งซึ่งทางผู้ผลิตไม่สามารถที่จะทำการควบคุมคุณภาพหรือตรวจสอบก่อนที่สินค้าจะถึงมือของลูกค้าได้แล้วนั้นจะยิ่งเป็นผลเสียค่อนข้างมากเพราะถ้าทางปลายทางเจอสินค้าที่ไม่มีคุณภาพไม่ว่าจะเป็น Custom ที่ปลายทางซึ่งถ้าทาง Custom ตรวจเจอจะเกิดการไม่ยอมรับสินค้าและสินค้าต้องถูกทำลายทิ้งทันที หรืออาจโดนตีกลับซึ่งทางผู้ผลิตจะต้องสูญเสียค่าสินค้าและค่าการขนส่งทั้งหมด นอกจากเสียชื่อเสียงและความเชื่อใจของบริษัทผู้ผลิตแล้วยังรวมถึงประเทศผู้ส่งออกด้วยเลยทีเดียว และถ้าสินค้าหลุดไปถึงมือผู้บริโภคจะสร้างความไม่พึงพอใจและก่อให้เกิดการสูญเสียลูกค้าเลยทีเดียว
3. อายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ เมื่ออุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ทั้งกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ และเวลาที่เหมาะสมและถูกต้องแล้ว จะทำให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการเก็บรักษาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจากอุณหภูมิและเวลาในการเก็บรักษาที่เหมาะสมจะช่วยในการชะลอการเจริญเติบโตของเชื่อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์ได้

การประยุกต์ใช้ RFID ร่วมกับการขนส่ง
    เทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) หรือเทคโนโลยีการระบุข้อมูลที่แสดงเอกลักษณ์ของวัตถุหรือบุคคลด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งจุดเด่นของ RFID อยู่ที่การอ่านข้อมูลจากแท็ก (Tag) ได้หลายๆ แท็กแบบไร้สัมผัสและ สามารถอ่านค่าได้แม้ในสภาพที่ทัศนะวิสัยไม่ดี ทนต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในไมโครชิปที่อยู่ในแท็กและเมื่อ RFID เชื่อมต่อกับระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม (Enterprise Resource Planning : ERP) ของคู่ค้าในระบบซัพพลายเชนจะทำให้มองเห็นความเคลื่อนไหวของสินค้าในซัพพลายเชนได้เป็นอย่างดี

ระบบ VIIS (Vehicle Identification and integration system )

VIIS ช่วยจัดการรถบรรทุกขนส่งประเภทต่างๆที่เข้ามาในพื้นที่โรงงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีจุดเด่น คือ

  1. ระบุทิศทางรถ เข้า-ออก ได้โดยอัตโนมัติแม้จะใช้งานบนตาชั่งเดียวกัน
    2.อุปกรณ์เช่น Reader หรือ Tag สามารถกันน้ำได้ถ้าติดตั้งนอกอาคาร
    3.มี RFID Reader กับ RFID Tag หลายแบบให้เลือกขึ้นอยู่กับใช้อยู่ในงานนั้นๆแบบใด
    4.สามารถกำหนดระยะตรวจสอบได้ ทั้งแบบ Passive และ Active