การกำหนดตลาดเป้าหมาย (Market Targeting)

การประเมินส่วนตลาด  กิจการจะต้องพิจารณาที่ปัจจัย 3 ประการคือ 1) ขนาดและการเติบโตของส่วนตลาด 2) ความน่าสนใจในเชิงโครงสร้างของส่วนตลาด และ 3) วัตถุประสงค์และทรัพยากรของกิจการ

การเลือกตลาดส่วนเป้าหมาย  หลังจากประเมินส่วนตลาดต่างๆ แล้ว กิจการจะต้องตัดสินใจด้วยว่าส่วนตลาดไหนบ้างที่จะเข้าไปให้บริการ     ซึ่่งในที่นี้ถือเป็นปัญหาเรื่องของการเลือกตลาดเป้าหมาย ในการเลือกตลาดเป้าหมาย ประกอบด้วยกลุ่มผู้ซื้อที่มีความต้องการหรือมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน ประกอบด้วย 3 ทางเลือกต่อไปนี้

1) กลยุทธ์การครอบคลุมตลาดด้วยการดำเนินการตลาดไม่แตกต่าง (undifferentiated marketing) หรือกลยุทธ์ตลาดรวม เป็นการทำการตลาดทั้งหมดด้วยรูปแบบการเสนอผลิตภัณฑ์ชนิดเดียว กิจการจะเน้นมองหาความต้องการที่เหมือนกันของผู้บริโภคมากกว่าที่จะมองว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง โดยกิจการจะออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นมาอย่างหนึ่งแล้วจะจูงใจผู้ซื้อจำนวนมากๆ โดยอาศัยช่องทางการจัดจำหน่ายแบบรวม และโฆษณาแบบรวม

mass 2     น้ำดื่ม

2) กลยุทธ์การครอบคลุมตลาดด้วยการดำเนินการตลาดที่แตกต่าง(differentiated marketing) กิจการต้องตัดสินใจว่าจะเลือกส่วนตลาดเป้าหมายมาหลายๆ ส่วนหรือเลือกเฉพาะตลาดกลุ่มย่อย แล้วจึงออกแบบแยกสิ่งที่จะเสนอให้ต่อไป (ส่วนประสมทางการตลาด) ในแต่ละส่วนตลาด เช่น รองเท้า Nike กิจการพยายามจะเสนอให้ทราบว่าคู่ไหนใส่ได้ในสถานการณ์ทั่วไป คู่ไหนเหมาะจะเป็นรองเท้าสำหรับกีฬาเฉพาะอย่าง เช่น รองเท้าสำหรับวิ่ง รองเท้าแอโรบิก รองเท้าปั่นจักรยาน

nike2      nike3

3) กลยุทธ์การครอบคลุมตลาดด้วยการดำเนินการตลาดมุ่งเฉพาะส่วน (concentrated marketing) การเลือกตลาดลักษณะนี้เหมาะสำหรับกิจการที่มีทรัพยากรอย่างจำกัด เป็นการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดเล็กๆ ที่อยู่ในตลาดใหญ่โดยกิจการจะช่วงชิงมาเพียงหนึ่งส่วนตลาด

nike2 niche 2     segment1

ใส่ความเห็น