การวิเคราะห์ SWOT (งานกลุ่ม)

คำสั่ง :
ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คน ศึกษากรณีตัวอย่าง Wal-mart ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ SWOT ของธุรกิจในประเทศไทยที่คิดว่าใกล้เคียง โดยแต่ละกลุ่มเลือกกันเองโดยไม่ซ้ำกันกับกลุ่มอื่น

  1. ระดมความคิดในการวิเคราะห์
  2. พิมพ์เป็นรายงานกลุ่ม
  3. ทำการนำเสนองานด้วยโปรแกรมนำเสนอ PowerPoint

การวิเคราะห์องค์การด้วย SWOT Analysis กรณีศึกษา : วอลมาร์ท

            Wal-mart ได้เริ่มเปิดตัวในปี 1962 โดย Sam Walton ดำเนินกิจกรรมภายใต้ชื่อ War-mart และ Sam’s club เป็นร้านค้า discount store ร้านขายของราคาประหยัดมีจำนวนสาขามากถึง 3406 แห่ง และ Super center เมื่อตรวจตราการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและทำกำไรสูงและมีการพัฒนาสินค้าจำนวนมาก ยกระดับให้บริการ โดยให้ระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ในองค์การและพัฒนาด้านทีมงานบริหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รับประกันความพอใจให้กับลูกค้าและถือนโยบายด้านการตลาดคำวิจารณ์มีสะท้อนกลับต่อความคิด และเริ่มนโยบายการตลาดใหม่ เช่นการทักทายกับผู้บริโภค การตกแต่งร้านค้าให้ดูอบอุ่น รวมทั้งการให้บรรจุภัณฑ์ ที่มีความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ได้แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างอันประณีตงดงามและทันสมัยในการจัดการด้านปฏิบัติงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวส่งผลให้ Wal-mart เป็นกิจการการที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของ Fortune หลายหนและได้รับเลือกเป็น Retailer of the Decade จาก Discount Store News
จากการดำเนินธุรกิจในกลยุทธ์ระดับบริษัทขนาดใหญ่ (Conglomerate หรือ Corporate) ของ War-mart ซึ่งเป็นธุรกิจแบบร้านค้าปลีก,Discount Store และ Super Center ขายของประหยัดมีหลายสาขาและมีอัตราการเจริญเติบโตมียอดจำหน่าย ผลกำไรสูงสุดและใหญ่ที่สุดในอเมริกา จากการวิเคราะห์ กลยุทธ์ Corporate ของ War-mart ประกอบไปด้วย
กลยุทธ์หลัก (Grand Strategies)
· Wal-mart มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีจำนวนสาขามากถึง 3406 ภายใต้ชื่อ Sam’s Club 483 แห่ง และ Super Center 502 แห่ง และมียอดการจำหน่ายสินค้าสูงถึง 125 พันล้านเหรียญในปี 2000 มีการขยายตลาดไปรอบๆครอบคลุมตลาดและพยายามแย่งชิงตลาดจากคู่แข่งขันให้ได้มากที่สุด เป็นการขยายตัวแบบไปข้างหน้าและจะขยายตัวไปเรื่อยๆไม่หยุดลง เมื่อวิเคราะห์จากสภาวะแวดล้อมของ War-mart แล้วจะพบว่าวัฎจักรของธุรกิจอยู่ในระยะรุ่งเรือง (Prosperity)
 · การเจริญเติบโต (Corporate Growth Strategies)
· การทุ่มตลาดของ War-mart มีฝ่ายบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพการทำงานสูงและเป็นฝ่ายที่สำคัญสุดของบริษัท และมีระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสัยเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานและควบคุมระบบหมุนเวียนของสินค้า ใช้ Scanning bar code เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการ Check Out ของลูกค้า ทำให้บริษัทเจริญเติบโตรวดเร็วสร้างผลกำไรให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก
· การขยายตัวของ War-mart เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อดูจากการขยายสาขาในปัจจุบันมีอัตราเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มจะขยายต่อไปอีกในอนาคตข้างหน้า มีการเพิ่มยอดจำหน่ายสินค้าที่ทำกำไรให้อย่างมากเป็นอัตราการเจริญเติบโตในแนวนอน/แนวราบ ดูจากการซื้อกิจการของคู่แข่งขันที่ใหญ่ที่สุด Sam’s wholesale clubs และทำให้คู่แข่งขันทางการค้าได้ปิดตัวลงเมื่อ War-mart เข้าไปเปิดตัวเป็นการลดอุปสรรคในการแข่งขันทางการตลาดลง
กลยุทธ์การวางตำแหน่งของหน่วยธุรกิจในพอร์ต (Corporate Portfolio)
จากการวิเคราะห์ทางการแข่งขันใช้สมมุติฐานในเทคนิค BCG MATRIX เมื่อดูด้านส่วนแบ่งทางการตลาดแล้ว War-mart
Sub 1 การเจริญเติบโต (Growth Concentration) มุ่งเน้น
     · การเจาะตลาดเดิม (Market Penetration)
     · การขยายสู่ตลาดใหม่ (Market Development)
Sub 2 ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage)
     · ต่อรองกับ Supplier ให้ได้สินค้าราคาต่ำสุดและได้ส่วนลดมากที่สุด
     · เพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยี IT ที่ทันสมัย
     · มีกระแสเงินสดหมุนเวียนและสภาพคล่องทางการเงินที่แข็งแกร่งจากโครงสร้างการเงินตั้งแต่ปี 1991-2001 มีจุดแข็งของระดับทรัพย์สิน/หนี้สิน
Sub 3 การตลาด (Marketing)
 · มีศูนย์กระจายสินค้าทันสมัยรวดเร็วและมีสาขาครอบคลุมพื้นที่
      · ราคาถูกสินค้าคุณภาพดี,สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
· เป็นผู้นำทางการตลาดจากยอดขายที่สูงกว่าคู่แข่งขันอย่าง Kmart และ Sears (ดูในปี 1993 มียอดขายมากกว่า Kmart 1.97 % และมากกว่า Sears 2.27% และเปรียบเทียบระหว่างปี 1992-1933 ยอดขายของ wal-mart เพิ่มขึ้น 21.37%, Kmart เพิ่มขึ้น 10% ส่วน Sears ลดลง –7.49% )
ส่วนแบ่งตลาดเปรียบเทียบคู่แข่งขันดังนั้นเมื่อพิจารณาผลการดำเนินการแล้วธุรกิจของ War-mart นั้นอยู่ในขั้น ดาว (STARS) เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันแล้ว Wal-mart จะอยู่ในจุดที่เด่นและได้เปรียบกว่าคู่แข่งขันอื่นๆ
สรุปกลยุทธ์ Corporate ของ War-mart มีความเหมะสมอยู่แล้วเมื่อดูจากอัตราการเจริญเติบโตสูง และอนาคตดีและมีโอกาลนำรายได้สู่องค์การได้มากในระยะยาว
การวิเคราะห์ตำแหน่งสภาวะแวดล้อมทางการแข่งขัน ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของ Wal-mart ซึ่งเป็นองค์การที่มีหน่วยงานธุรกิจที่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญ สามารถประเมินสภาวะแวดล้อมในการแข่งขัน ที่ประกอบด้วยปัจจัยในกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง และทันทีทันใดการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันที่เรียกว่า “โมเดลแรงผลักดัน 5 ประการจากการแข่งขันในอุตสาหกรรม” (FIVE FORCES MODEL) ของ Michael E.Porter สามารถสรุปได้ดังนี้อุปสรรคจากคู่แข่งขันเข้ามาใหม่ในตลาด ผู้แข่งขันจะเข้ามาได้ยากเพราะและต้องใช้เงินลงทุนสูง และ Wal-mart ได้สร้างชื่อและเป็นที่รู้จักดีของลูกค้าว่าบริการดีสินค้าถูกและประกันคุณภาพ และขยายสาขาไปทั่วทุกหนทุกแห่ง
อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ ลูกค้าจะมีอำนาจการต่อรองสูง เนื่องจากธุรกิจประเภทร้านค้าปลีกและ discount store มีจำนวนมากให้เลือกใช้บริการได้ แต่ War-mart ได้รับความเชื่อถือและความนิยมค่อนข้างสูง แรงผลักอันนี้ถือว่าเป็น Weak Force
อุปสรรคจากผลิตภัณฑ์ที่ทดแทนกัน รูปแบบร้านค้าที่สามารถเข้ามาทดแทนได้ คือ ร้านค้าประเภท เซเว่น มินิมาร์ท เปิดบริการทุกตรอก ซอกซอย ให้บริการ 24 ชม. แต่ในส่วนนี้ยังไม่น่าห่วงมาก เพราะลูกค้าซื้อของกับ เซเว่นหรือมินิมาร์ท จะเข้าจับจ่ายเฉพาะของที่ไม่มีเวลาไปหาซื้อหรือของที่จำเป็นเล็กน้อย เพราะสินค้าบางประเภทจะหาไม่ได้ในร้านค้าประเภทนี้และราคาก็ค่อนข้างแพงกว่าด้วย
อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ขายไม่มีอำนาจในการต่อรอง เนื่องจากสินค้าประเภทนี้จะมีสินค้าจำนวนมากมาย และแต่ละรายการของสินค้าจะมีหลาย Brand-name ให้เลือกใช้
การเพิ่มของการแข่งขันระหว่างธุรกิจที่มีความรุนแรงมากขึ้น จำนวนคู่แข่งขันมีมากและคู่แข่งขันรายใหญ่ที่แข็งแกร่ง แต่มีจุดอ่อนทางด้านราคาสินค้าและการให้บริการ ไม่ครอบคลุมในทุกพื้นที่ จึงเป็นช่องทางที่ทำให้ Wal-mart ได้รับความจงรักภักดีค่อนข้างสูง

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (KEY SUCEESS FACTORS)
ความสามารถในการดำเนินการ
· มีระบบคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ
· มีศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ
· มีสาขาครอบคลุมพื้นที่
· มีระบบดาวเทียมในการสื่อสารที่รวดเร็ว
ความสามารถในทางการตลาด
· ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ
· ราคาถูกคุณภาพสินค้าดี
· บริการดี
ความสามารถทางทรัพยากรมนุษย์
· พนักงานพึงพอใจในการทำงาน
· พนักงานมีความสามารถ TEAM WORK
ความสามารถด้านบริหารงาน
· ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์เป็นผู้นำมีความสามารถ
· มีการกระจายอำนาจผู้จัดการสาขา
· มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อ Supplier เพื่อการวางแผนการดำเนินการร่วมกัน
จากการวิเคราะห์คู่แข่งขันมีข้อดีและข้อเสียดังนี้ข้อดี
· สินค้ามีราคาถูกกว่าคู่แข่งขันและสามารถทำกำไรได้มากกว่ามาตลอด และสนองตอบความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าประทับใจและจงรักภักดี ทำให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามาในตลาดยากพอสมควร
· มีระบบคอมพิวเตอร์และดาวเทียมเข้ามาใช้เพื่อความรวดเร็ว สนองตอบความต้องการลูกค้า
· การขยายสาขามากขึ้นทำให้ครองตลาดในการแข่งขัน
ข้อเสีย
· เสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งขันขนาดเล็กและไม่สามารถเรียกกลับคืนได้
ข้อเสนอแนะ
การดำเนินธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของ Wal-mart ซึ่งมีการแข่งขันทางการตลาดและใช้การขยายตัวแบบแนวนอน จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะสามารถครองใจลูกค้า ซึ่งธุรกิจประเภทนี้กำลังประสบปัญหาภาวะลำบาก ในขณะที่ Wal-mart ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ได้เหนือคู่แข่งขันอื่นๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จต่อไปตามที่มุ่งหวังในอนาคตของ Wal-mart ควรจะขยายตัวต่อไปเรื่อยๆ
การดำเนินธุรกิจหรืองานใดๆในปัจจุบันจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เพื่อมิให้การดำเนินงานอยู่ในภาวะความเสี่ยงของผู้บริหารควรรับผิดชอบต่อการวางแผนกลยุทธ์หรือต้องติดตามและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในอย่างสม่ำเสมอ กลยุทธ์ที่นำมาวิเคราะห์ SWOT เพื่อกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดในองค์การ
STRENGTH (จุดแข็ง)
· สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า
· สินค้ามีคุณภาพสูงและหลากหลาย
· มีส่วนแบ่งด้านการตลาดมากกว่าคู่แข่งขัน
· ชื่อเสียงของบริษัทเป็นที่รู้จักดี
· บริการที่รวดเร็วด้วยระบบคอมพิวเตอร์และดาวเทียม
· ส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง
· มีฐานะการเงินและสภาพคล่องที่ดี
WEAKNESS (จุดอ่อน)
· การประชาสัมพันธ์ค่อนข้างน้อยมาก
· มีหนี้สินเป็นภาระผูกพันสำหรับเช่าซื้อในระยะยาวเป็นจำนวนมากเกินไป
OPPORTUNITY (โอกาส)
· เปิดตลาดเสรีทำให้มีแนวโน้มการขยายตัวเข้าไปสู่ตลาดใหม่ได้ดีและเป็นที่นิยมและยอมรับทั่วไป
· มีการพัฒนาการบริหารและเทคโนโลยีใหม่
· สังคมให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
· ธุรกิจค้าปลีกเลิกกิจการ
THREAT (อุปสรรค)
· ความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ
· มีคู่แข่งขันจำนวนมากราย
· อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมคงตัวและมีแนวโน้มลดลง
· จุดอิ่มตัวทางการตลาดของผู้บริโภค
· ถูกมองในแง่ลบเรื่องใช้แรงงานเด็กในการผลิตเพื่อลดต้นทุน
กลยุทธ์ที่ใช้กับคู่แข่งขัน
· สินค้ามีราคาถูกทุกวัน มีคุณภาพดีและมีสินค้าแบบ One Stop Shopping ซึ่งแวะที่เดียวได้สินค้าครบทุกอย่าง
· ครอบคลุมพื้นที่ตามความต้องการของลูกค้า
· มีโกดังสินค้าภายในรัศมี 6ชม.จากที่ตั้งโกดังเพื่อสะดวกและความรวดเร็วในการขนถ่ายสินค้า
· มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานและควบคุมระบบหมุนเวียนของสินค้า ใช้ Scanning bar code เพื่อเพิ่มความ รวดเร็วในการ Check Out ของลูกค้า และมีระบบดาวเทียมเพื่อการสื่อสารที่ทันสมัย
· รณรงค์ใช้สินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อมและสินค้าที่ผลิตในประเทศ
· มีการวิจัยและพัฒนา ทดสอบสินค้าใหม่ๆเพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและมีคุณภาพดีกว่าเดิม
กลยุทธ์ (Strategies)กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ (Functional Strategies) เน้นกลยุทธ์ในแผนต่างๆ ที่ประกอบด้วย
· แผนการตลาด
· แผนการผลิต/การดำเนินงาน
· แผนการด้านทรัพยากรบุคคล
ซึ่งแต่ละแผนมีความสอดคล้องให้เกิด
· Quality
· Safety
· Save Time
· Development
· Convenience
กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategies)
· จูงใจให้ลูกค้าใช้สินค้าที่ลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ
· มีนโยบายการขายสินค้าราคาถูกทุกวัน every day low price และสินค้าที่มีคุณภาพ
· มีการจัดโปรแกรมฝึกอบรม ,สัมมนาให้พนักงานมีคุณภาพและผลงานที่ดี เพื่อกระตุ้นให้พนักงานมีความรักต่องานของตนเอง
· ให้ความสำคัญต่อพนักงานและรับความคิดเห็นของพนักงาน นำมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นๆ
· มุ่งตลาดการแข่งขันโดยเปิดสาขากระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน
· การจัดส่งสินค้ากระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพโดยมีศูนย์กระจายสินค้าอัตโนมัติ
Wal-mart เป็นองค์การขนาดใหญ่มีจำนวนบุคลากรจำนวนมากสิ่งสำคัญที่สุดคือ การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์การเติบโตเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ทีมงานที่มีประสิทธิผลของ Wal-mart ตามทฤษฏีของ Stephen P.Robloins และ Mary Coutter คือ
1. มีเป้าหมายชัดเจน (Cleave goals)
– มีความต้องการเป็นผู้นำทางการตลาด
– ต้องการความจงรักภักดีของลูกค้า
– ต้องการขยายตลาดทั้งในอาณาเขตในประเทศและแผ่ขยายไปยังต่างประเทศ
2. มีทักษะที่สัมพันธ์กับงาน (relevant skills)
– มีทีมงานมีความสามารถและเชียวชาญในการบริหารองค์การ
– มีการจัดองค์การแบบ Flat Organization เพื่อลดขั้นตอนการทำงาน
3. มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน (Mutual trust)
– รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของพนักงาน
– สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี
4. มีข้อผูกมัดร่วมกัน (Unified Commitment)
– สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน
–  สร้างความร่วมมือร่วมใจในการทำงานของพนักงาน
5. มีการติดต่อสื่อสารที่ดี (Good Communication)
– มีระบบดาวเทียมในการติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วและทันเวลาทำให้ทีมงานมีความเข้าใจตรงกัน
6. มีทักษะในการเจรจาต่อรอง (Negotiation Skill)
– ทีมงานให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
7. มีภาวะผู้นำกลุ่มที่เหมาะสม (Appropriate Leadership)
– มีผู้นำกลุ่มที่จูงใจโน้มน้าวพนักงานที่ดีเยี่ยม
– ผู้นำที่มีทักษะและความสามารถ
8. ได้รับการสนับสนุนทั้งจากภายในและภายนอก (Internal and External Support)
–  มีการจัดฝึกอบรม
–  การประเมินผลการปฏิบัติงาน
–  การให้รางวัล
–  การให้ผลตอบแทน
จะเห็นได้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มของ Wal-mart มีความเหมาะสมสำหรับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันมาก สำหรับองค์การขนาดใหญ่ มีพนักงานเป็นจำนวนมาก การให้บริการสินค้าหลายประเภทหลายรูปแบบและมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอคือ การให้บริการไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียมกัน เมื่อมีการทำงานเป็นกลุ่มสามารถลดปัญหาเหล่านี้ได จะสังเกตได้ว่าการทำงานเป็น Team Work เหมาะสมกับงานประเภทสร้างแรงจูงใจในการให้บริการได้ดี เช่นความสามารถในการเลือกสินค้า การค้นหาสินค้า ความเป็นกันเองกับลูกค้า หรือแนะนำบริการต่างๆ เป็นต้น เพราะงานประเภทนี้มีกลไกในการทำงานไม่ซับซ้อน แต่งานประเภทที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลหรือมีกระบวนการที่ซับซ้อนในการทำงานหลายคนจะเกิดความผิดพลาดได้มาก เช่น การควบคุมปริมาณสินค้า หรือการชำระค่าสินค้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Wal-mart ใช้การทำงานเป็น Team Work ควบคู่กันไปกับการสร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานด้วย

ใส่ความเห็น