สิงคโปร์ตัวอย่างที่ควรยกย่อง


สิงคโป2   สิงคโป3

อ่านบทความของอาจารย์สุกรี เจริญสุข คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง “สิงคโปร์ตัวอย่างที่ควรยกย่อง” ในหนังสือพิมพ์มติชนอ่านแล้วน้ำตาจะไหลอย่างที่อาจารย์เขียนอาจารย์สุกรี เขียนบทความนี้หลังจากนำทีมงานวิทยาลัยไปดูงานที่สิงคโปร์เพราะเห็นว่าเป็นประเทศตัวอย่างในเรื่องการบริหารจัดการในทุกเรื่องได้สำเร็จ วันนี้ประเทศสิงคโปร์อายุได้ 51 ปี (ตั้งประเทศ พ.ศ.2508) มีความเจริญก้าวหน้าโดยอาศัยเพียงการบริหารจัดการเท่านั้น เพราะสิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรใดๆที่สำคัญมีเฉพาะมันสมองและฝีมือในการบริหารจัดการเท่านั้น หากได้มีการแลกเปลี่ยนผู้นำประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนการบริหารกันบ้างก็น่าจะดี เอาระหว่างชาติประเทศอาเซียนด้วยกันก็คงจะดีไม่น้อย เช่น ให้ผู้บริหารของไทยไปบริหารสิงคโปร์สัก 1 ปี แล้วให้ผู้บริหารสิงคโปร์มาบริหารประเทศไทยสัก 1 ปี ซึ่งก็น่าสนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อการบริหาร 1 ปีผ่านไป  คนไทยที่ได้ผู้บริหารจากสิงคโปร์ 1 ปี ตื่นขึ้นมาดีใจจนน้ำตาไหลว่าแค่ 1 ปีทำไมจึงเจริญได้ถึงเพียงนี้ ในขณะเดียวกันเมื่อชาวสิงคโปร์ซึ่งได้ผู้บริหารไทยไปใช้บริการ 1 ปี ตื่นขึ้นมาก็คงน้ำตาไหลเช่นกันว่าแค่ 1 ปี สามารถที่จะสร้างความเสียหายได้ถึงเพียงนี้

อาจารย์สุกรี ยกตัวอย่าง ยุง หนู แมลงสาบ (ที่มีอยู่เกลื่อนกรุงเทพมหานคร ขนาดร้านขายกระเป๋า แบรนด์หรูในห้างใหญ่ยังเคยถูกหนูเข้าไปกัดเสียหายมาแล้ว) ว่าสิงคโปร์ไม่มียุง ไม่มีหนู ไม่มีแมลงสาบทั้งๆ ที่เป็นประเทศร้อนชื้นมีอาหารการกินเหมือนเมืองไทยแต่เขาบริหารจัดการยุง กำจัดหนู กำจัดแมลงสาบได้อย่างไรเมื่อเขากำจัดได้ก็เพิ่มรายได้จากลูกค้าชาวตะวันตกที่กลัวยุง กลัวหนุ กลัวแมลงสาบ อาจารย์สุกรียกตัวอย่าง พุทธมณฑลที่อยู่ติดกับวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ว่า “คิดแค่พื้นๆ หากนายอำเภอพุทธมณฑลร่วมมือกับสำนักพุทธศาสนาสร้างเมืองพุทธมณฑลให้เจริญ เพียงปลูกป่า ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่เหลือๆในเขตของพุทธมณฑล (2500ไร่)ให้ร่มรื่นทำความสะอาดดูแลเอาใจใส่เอาป้ายที่ติดประจานหน่วยงานต่างๆ ที่อ้างว่าเป็นเจ้าของ จัดการกับรถที่เข้าไปจอด และจัดการเหลือบที่เข้าไปทำมาหากินกับพุทธมณฑลรอบๆ พุทธมณฑล พุทธมณฑลก็จะเจริญขึ้นทันทีพื้นที่ป่าเล็กๆในพุทธมณฑลนั้นก็ใหญ่กว่าป่าในสิงคโปร์แล้ว”

บทความอาจารย์สุกรีเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารทุกระดับทั้งในภาครัฐและเอกชน การบริหารจัดการที่ดีสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้ทุกสิ่งขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้มีอำนาจเองอย่างเรื่องยุง หนู แมลงสาบในกรุงเทพมหานครถ้าวันนี้มีการเปิดท่อระบายน้ำในกทม.แล้วไล่หนู แมลงสาบออกจากท่อไม่รู้จะมีหนูกี่ล้านตัว แมลงสาบอีกกี่สิบล้านตัวที่อาศัยอยู่ในท่อกทม.ที่ไม่เคยมีการบริหารจัดการเรื่องความสะอาดเหมือนสิงคโปร์เลย เรื่องการปลูกต้นไม้ก็เช่นเดียวกันเมื่อ 30 ปีก่อนสื่อเล็กๆ กลุ่มหนึ่งรวมทั้งตัวอาจารย์สุกรีด้วยได้รับเชิญให้ไปดูการถมเกาะของสิงคโปร์ก็ได้เห็นการบริหารจัดการของสิงคโปร์อย่างที่อาจารย์เห็น สมัยนั้นไทยมีพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เป็นนายกรัฐมนตรีวันหนึ่งสื่อกลุ่มผมได้มีโอกาสสนทนากับนายกฯเกรียงศักดิ์ก็ได้เสนอแนวคิดเรื่องการปลุกต้นไม้ในเมืองแบบสิงคโปร์นายกฯเกรียงศักดิ์เห็นด้วยและสั่งการให้มีการดำเนินการทันที เริ่มจากต้นตาเบบูย่าดอกสีชมพูให้กทม.นำต้นขนาดใหญ่ไปปลูกริมถนนดอกบานแล้วสวยงามมาก แต่ดอกร่วงเร็วคนก็ติว่าทำให้พื้นสกปรกเลยไม่ปลื้ม วันนี้หลังจากคนไทยไปชื่นชมดอกซากุระที่ญี่ปุ่นเห็นดอกซากุระร่วงพลิ้วลงสู่พื้นทำให้พื้นดินเป็นสีชมพูสวยงาม วันนี้คนไทยก็กลับมาชื่นชมความสวยงามของดอกตาเบบูย่าทั้งที่มีมาหลายสิบปีแล้ว

นายกฯเกรียงศักดิ์ยังได้สั่งคนย้ายกองขยะดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ในปัจจุบันเอาขยะไปถมที่รกร้างสร้างเป็น “สวนจตุจักร” ที่ร่มรื่นให้คนกรุงได้พักผ่อน กำจัดภูเขาขยะกลางเมืองออกไปได้แถมยังได้สวนสาธารณะขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น ทุกอย่างก็แค่การบริหารจัดการเท่านั้นขอเพียงคิดให้เป็นและตรงไปตรงมา

ข้อมูลจากบทความ หมายเหตุประเทศไทย นสพ.ไทยรัฐ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2559

การตลาดกับการเปลี่ยนแปลง


การตลาดออนไลน์ สำคัญอย่างไร

การทำตลาดออนไลน์

การตลาดออนไลน์

สำคัญอย่างไรมีผู้ประกอบการธุรกิจจำนวนมากที่ยังไม่รู้ถึงศักยภาพของการทำการตลาดออนไลน์ เนื่องจากพฤติกรรมของการทำการค้าและการโฆษณาแบบสมัยก่อนที่มักจะพึ่งสื่อโฆษณาในรูปแบบ หนังสือ วิทยุ โทรศัพท์ ป้ายโฆษณาและอื่นๆอีกมากมายโดยการทำการตลาดออนไลน์นั้นเราจะต้องใช้อินเตอร์เน็ตเป็นส่วนสำคัญในการประชาสัมพันธ์และเมื่อพูดถึงอินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งที่ใหม่ที่สุด สำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เมื่อเทียบกับการประชาสัมพันธ์แบบอื่นๆทำให้มีผู้ประกอบการจำนวนมากยังไม่เข้าใจถึงว่าการตลาดออนไลน์มีประสิทธิภาพสูงเพียงใดในโลกที่มีความแข่งขันสูงและทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อกันข้ามพรมแดนได้ในช่วงพริบตาการตลาดออนไลน์จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ใช้ช่วยในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เนื่องจากการตลาดออนไลน์สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ในเวลาอันรวดเร็วสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้แบบเฉพาะเจาะจงสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลกแล้วที่สำคัญราคาค่าโฆษณาเมื่อเทียบกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบอื่นๆแล้วการตลาดออนไลน์นั้นเป็นอะไรที่ถูกที่สุดเมื่อเทียบกับการทำการตลาดแบบอื่นๆ

การทำตลาดออนไลน์

การทำตลาดออนไลน์
สามารถช่วยให้ผู้ขายประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งในเรื่องของสินค้าพนักงานขายและให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 600 ล้านคนทำให้ปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่ทั้งนี้ผู้ขายจะต้องศึกษาเรื่องของสินค้า,ช่องทางการประชาสัมพันธ์ตลอดจนกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนเพื่อให้การใช้สื่อประเภทนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด

การตลาด
แบบเดิมนั้นจะประกอบด้วย การตลาดเพียง 4 P เท่านั้น คือ Product, Price, Place และ Promotion
แต่การตลาดออนไลน์จะมีส่วนประกอบเพิ่มขึ้นมาอีก 2 P คือ Personalizationและ Privacy เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำตลาดถึงกลุ่มลูกค้าได้มากยิ่งและเป็นการมัดใจลูกค้าไปในตัวอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม :

ที่มา:http://blog.sogoodweb.com/Article/Detail/17072/

Credit : http://www.workboxs.com
By : www.SoGoodWeb.com

KPIs คืออะไร


KPIs เกิดจากการรวมกันของคำ 3 คำ ที่มีความหมายในตัวเอง

Key คือ จุดหลัก หัวข้อหลัก เป้าหมายหลัก
Performance คือ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือผลของการกระทำ
Indicators คือ ตัวชี้วัด หรือดัชนีชี้วัด

          KPIs คือ ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพของการทำงานโดยการวัดผลตามหัวข้อต่างๆ ที่กำหนด หลักการนำ KPIs มาใช้งานประเมินผลงาน สมัยก่อนการประเมินผลงานอาจจะประเมินแบบลวกๆ ไม่ละเอียด ทำให้เกิดคำถามขึ้นมามากมายว่าผู้บังคับบัญชานำเกณฑ์อะไรมาตัดสิทั้งเรื่องประสิทธิภาพการทำงานของบุคคล และประสิทธิภาพขององค์กรหรือหน่วยงาน ทุกอย่างจะอยู่ที่การประเมินและตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาเพียงอย่างเดียว ซึ่งแน่นอนว่าเกิดปัญหาตามมามากมาย ด้วยปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงต้องค้นหาดัชนีชี้วัดแบบละเอียดมาใช้งานแทนการตัดสินใจแบบลวกๆ ของคนเพียงคนเดียว ซึ่งปัจจุบันนิยมนำระบบ KPIs มาใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานกันอย่างกว้างขวาง เน่ื่องจากการใช้ KPIs ในการวัดประสิทธิภาพของบุคคลและประสิทธิผลขององค์กรนั้น จะต้องจัดทำรายละเอียดของหัวข้อที่จะทำการประเมินไว้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดคะแนนของแต่ละหัวข้อเหล่านั้นไว้ด้วย เมื่อถึงเวลาประเมินผู้บังคับบัญชาต้องประเมินตามหัวข้อนั้นๆ พร้อมให้คะแนนเมื่อทำเสร็จเรียบร้อยจะต้องนำผลการประเมินนั้นมาแจ้งให้ผู้ถูกประเมินทราบ และเปิดโอกาสให้ผู้ถูกประเมินได้คัดค้านในหัวข้อที่ตนเองไม่เห็นด้วยกับผลการประเมิน ด้วยวิธีการนี้จะเห็นว่าการประเมินจะเป็นไปอย่างโปร่งใสและเปิดเผย มีความยุติธรรมทั้งต่อตัวผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน  สำหรับการนำ KPIs มาวัดประสิทธิผลขององค์กรก็เช่นเดียวกับการใช้ KPIs ประเมินบุคคล คือต้องจัดทำหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยที่ต้องการประเมิน พร้อมน้ำหนักหรือคะแนนในแต่ละหัวข้อ เมื่อถึงรอบระยะเวลาที่ทำการประเมิน และเปิดโอกาสให้ผู้ที่ทำงานในองค์กรมีโอกาสได้รับรู้รายละเอียดการประเมินและมีโอกาสได้สนับสนุนหรือคัดค้าผลการประเมินนั้นด้วย
           ข้อควรระวังในการนำระบบ KPIs มาใช้งาน  เนื่องจาก KPIs เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยตรงและแบบละเอียด ดังนั้นอาจจะโดนต่อต้านจากผู้ปฏิบัติงานในระยะแรก ดังนั้นผู้ประเมินต้องมีความอดทนและกล้าที่จะประเมินแบบตรงไปตรงมา ไม่มีความลำเอียงแต่เมื่อทุกคนในองค์กรยอมรับการประเมินแบบนี้แล้ว ประสิทธิผลโดยรวมขององค์กรจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การศึกษาในศตวรรษที่ 21


     การปฏิรูปประเทศของประเทศต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญที่ การศึกษา เพื่อสร้างคนให้มีความรู้ มีคุณภาพ สิงคโปร์สร้างชาติจากเกาะเล็กๆ ที่ไม่มีทรัพยากรอะไรเลยจนเป็นศูนย์กลางการเงิน การค้าของโลกในเวลาเพียง 50 ปี ลีกวนยู ผู้ก่อตั้งสิงคโปร์ก็สร้างชาติด้วยการศึกษา วันนี้มหาวิทยาลัยสิงคโปร์ติดอันดับท็อป 100 ของโลกถึง 2 แห่ง มหาวิทยาลัยไทยก็ติดอันดับเหมือนกัน แต่ติดอันดับที่ 500 กว่าก็ดีใจกันใหญ่                   วันนี้อ่านข้อเขียนของคุณบัญญพนต์ พูนสวัสดิ์ เจ้าของบริษัท เดฟ จำกัด อาจารย์สอนวิชาออกแบบและพัฒนาเกม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ในนิตยสาร Digital Age เป็นบทความที่น่าสนใจอย่างยิ่ง   คุณบัญญพนต์ ได้เขียนถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยมีข้อมูลที่ตกผลึกของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช   ที่ตอกย้ำกับสายวิชาการในแนวคิดที่ว่า สาระวิชาความรู้ที่เรียนอยู่ในปัจจุบัน แม้มีความสำคัญแต่ยังไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ครูและอาจารย์จะมีเพียงบทบาทในเชิงการแนะนำและการออกแบบกิจกรรมในรูปแบบของการศึกษาและนวัตกรรมเพื่อแยกย่อยไปตามคุณลักษณะของผู้เรียน ซึ่งทำให้ครูยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ต้องเรียนรู้มากขึ้น  ผู้เรียนหรือนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีทักษะดังนี้

1. ทักษะระดับพื้นฐานที่เคยมีมาก่อน     Reading ทักษะการอ่าน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้าถึงองค์ความรู้   Writing ทักษะการเรียนเพื่อสร้างทักษะการถ่ายทอด และการสื่อสาร   Arithmetic ทักษะการคำนวณ หรือการคิดเชิงคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์เพื่อใช้ในการคิดแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน

2. ทักษะระดับมาตรฐานที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21  Critical Thinking & Problem Solving ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาโดยอาศัยการเรียนรู้และสังเกต    Creativity & Innovation ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ และการคิดค้นนวัตกรรม   Cross-Cultural Understanding ทักษะการเรียนรู้บนความเข้าใจด้านวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเพื่อสร้างระเบียบ  Collaboration, Teamwork & Leadership ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ     Communication, Information & Media Literacy ทักษะด้านการสื่อสาร และมีความรู้ในการสืบค้นสื่อ    Computing & ICT Literacy ทักษะการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบดิจิตอล    Career & Learning Skills ทักษะที่ตรงกับความชำนาญในการประกอบอาชีพ และการพัฒนาการเรียนรู้ผสมเข้ากับการทำงาน    ด้วยคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ความท้าทายที่แท้จริงมีอยู่ 3 ข้อเท่านั้น คือ Critical Thinking & Problem Solving และ Communication Information & Media Literacy กับ Computing & ICT Literacy ที่ต้องปรับตัวขนานใหญ่ด้วยรูปแบบการติดต่อสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟน เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม ที่ผู้เรียนนิยมใช้แสดงออกในเรื่องความสนใจของตน การใช้กูเกิลทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองแซงหน้าครูผู้สอน เด็กรุ่นใหม่ใน Gen C ปัจจุบันเจาะจงเพียงสิ่งที่ตนถนัดมากขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งอาจารย์หรือห้องเรียน

การประกวดแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและองค์กร


เงื่อนไขและกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม

1. นักเรียนสาขาการตลาดทุกระดับสามารถส่งผลงานเข้าประกวด
2. นักเรียนที่เรียนวิชา การสื่อสารทางการตลาดต้องส่งผลงานเข้าประกวด
3. การให้คะแนนจะมาจาก 2 ส่วน จากกรรมการและจากผลโหวตจากนักเรียน
4. กิจกรรมนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของชมรมการตลาดที่นักเรียนต้องมีส่วนร่วม
5. กิจกรรมนี้จะประเมินให้คะแนนในวิชา การสื่อสารทางการตลาด 10 คะแนน

กติกาการประกวดออกแบบแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าและองค์กร

1. สินค้าและองค์กรให้นักเรียนกำหนดขึ้นเอง
2. ให้นักเรียนสร้างแผ่นพับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ตามที่นักเรียนถนัด)
3. ให้นักเรียนบันทึกไฟล์ชื่อ แผ่นพับ_ห้อง_เลขที่ และพิมพ์ด้วยกระดาษ A4  จำนวน 4 แผ่น
4. กำหนดส่งภายในวันที่ 28 สิงหาคม 2558

เกณฑ์การตัดสินผลงาน

1. การสื่อความหมายของข้อความ
2. การสื่อความหมายของภาพประกอบ
3. การออกแบบและจัดเรียงรูปแบบข้อความและรูปภาพ
4. ความสวยงามและความประณีตและความคิดสร้างสันของชิ้นงาน

หมายเหตุ  

1. การตัดสินของกรรมการถือเป็นข้อยุติ
2. กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

Engagement อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญขององค์กร


Engagement ที่่จริงคืออะไร และจะทำให้เกิดขึ้นในองค์กรอย่างไร

การตลาดกับการสื่อสารการตลาด


การตลาด (Marketing) ทำให้มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร มีผลดี ผลเสียอย่างไร

การสื่อสารทางการตลาด มีความสำคัญต่อธุรกิจอย่างไร

สวัสดีทุกคน


ชุมชนสังคมออนไลน์ของนักเรียนทุกคนที่สนใจ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่จะแบ่งปัน

ดาวน์โหลด E-book เป็นไฟล์ PDF เก็บไว้เพื่อใช้ในการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

6-20-2015 10-39-07 PM    6-21-2015 7-27-04 AM

หลักการตลาด                 หลักการจัดการ